PHP คืออะไร?
PHP ย่อมาจากคำว่า "Personal Home Page Tool" (ปัจจุบันได้เพิ่มเติมคำย่อใหม่โดยรวมกับตัวย่อเป็น PHP : PHP Hypertext Preprocessor) ซึ่งเป็นภาษาประเภท Script Language ที่ทำงานแบบ Server Side Script กระบวนการทำงานจะทำงานแบบโปรแกรมแปลคำสั่ง interpreter คือแปลภาษาทุกครั้งที่มีคนเรียกสคริปต์ ข้อดีคือ ไม่ต้องนำไปประมวลผลใหม่ (Compiler) เมื่อจะนำโปรแกรมไปใช้งาน หรือจะอัพเดตเวอร์ชั่นของโปรแกรม สามารถอัพโหลดขึ้นไปทับไฟล์เดิมแล้วใช้งานได้ทันที ขอเสียที่ต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ กรณี Syntax ผิดจะรู้ก็ต่อเมื่อมีผู้ใช้งานเจอบั๊ก
ภาษา PHP จัดอยู่ในประเภท การเขียนโปรแกรมบนเว็บ (Web-based Programming) เพราะเราจะเก็บโค้ดคำสั่ง หรือสคริปต์ทั้งหมดที่เขียนขึ้นมาไว้บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่เดียว (Web Server) และให้ผู้ใช้งาน (Client) เรียกใช้งานโปรแกรมผ่านเว็บเบราเซอร์ต่างๆ เช่น Internet Explorer, Mozilla Firefox, Google Chrome, Opera, Safari ฯลฯ เพื่อนำข้อมูลมาแสดงผลที่หน้าจอของผู้ใช้แต่ละคนนั่นเอง
PHP มีอะไรน่าสนใจบ้าง?
เรามาลองพูดถึงเรื่องของการสร้างเว็บไซต์ที่มีระบบจัดการเนื้อหา (Content management system, CMS) หรือส่วนของผู้ดูแลเว็บไซต์ที่จัดการได้ผ่านทางหน้าเว็บเองได้เลยนั้น หลายท่านคงจะนึกถึง Joomla, Wordpress, OpenCart, Drupal, SMF : Simple Machines Forum, phpBB , Moodle และอีกหลายตัวที่มีจุดแข็งแตกต่างกันไป
ท่านทราบหรือไม่ว่า CMS ดังๆเหล่านี้สร้างด้วยภาษา PHP ทั้งหมด และข้อมูลที่มีการเพิ่มเข้าไปนั้นจะถูกเก็บเป็นไฟล์ และส่วนหนึ่งก็อยู่ในรูปแบบของฐานข้อมูลซึ่งโดยปกติแล้วก็จะใช้ฐานข้อมูล MySQL ที่คุ้นเคยกันมานาน
ดังนั้น ก็พอจะสรุปได้ว่าภาษา PHP เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับนำมาสร้างเว็บไซต์ที่มีระบบฐานข้อมูล หรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเว็บไซต์อยู่ตลอดเวลา ช่วยสร้างระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ให้ง่ายขึ้นด้วยการเขียนโปรแกรมจัดการไฟล์ และฐานข้อมูลของ PHP นั่นเองครับ
เรื่องข้อดีข้อเสียนั้น ผู้เขียนจะขอข้ามไปเลยละกันเพราะโปรแกรมแต่ละภาษาถ้าใช้ให้เหมาะกับงานก็นับว่ามี ข้อดีเยอะกว่าข้อเสีย อันนี้แล้วแต่จะพิจารณาไป แต่จะขอบอกถึงข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดของการเขียนโปรแกรม PHP ดังนี้
1. PHP เก็บโปรแกรมหรือคำสั่งทั้งหมดไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นเวลาที่ต้องเปลี่ยนเวอร์ชั่น ผู้ใช้งานแต่ละเครื่องไม่จำเป็นต้องเสียเวลาอัพเดตโปรแกรมตาม (เพราะไม่ได้ติดตั้งโปรแกรม) หากแต่ว่าเวอร์ชั่นที่เปลี่ยนแปลงไปหมายถึงการแสดงผลที่เลิศหรูอลังการงาน สร้าง ด้วยสุดยอดเอฟเฟกต์ของเว็บเบราเซอร์รุ่นใหม่ๆล่ะก็ อันนี้ผู้ใช้งานก็ต้องอัพเดตโปรแกรมเว็บเบราเซอร์เพื่อใช้เรียกดูข้อมูลตามไปด้วยครับ
2. PHP ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมหรือคำสั่งไว้บนเครื่องผู้ใช้งานดังเช่นที่ได้กล่าวไปแล้ว ดังนั้นก็เป็นการประหยัดพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ ประหยัดทรัพยากรเครื่องได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ใช้แรมนะครับ เพราะว่าโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ก็เป็นตัวเขมือบแรมอย่างดีนั่นเอง แต่อย่างน้อยก็ช่วยเรื่องสเปกคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการ(OS) ที่ไม่ต้องกำหนดตายตัวตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ขอแค่เพียงมีคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเว็บเบราเซอร์เพื่อเปิดดูข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ได้ก็พอ
3. PHP พัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ทำงานบน WWW สามารถเรียกใช้งานได้หลายระบบปฏิบัติการ หรือ ข้ามแพลตฟอร์ม (Cross-platform) ไม่ว่าจะใช้ Windows, Linux, Ubuntu ก็สามารถเข้าใ้ช้งานได้ หรือแม้กระทั่งบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ เพียงแต่ปรับแต่งเรื่องการแสดงผลตามขนาดอุปกรณ์เพิ่มเติมเท่านั้น
ขอทิ้งท้ายไว้สักหน่อย สำหรับการฝึกเขียนโปรแกรม PHP สิ่งที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมและสำคัญอย่างยิ่งที่จำเป็นจะต้องมีเอาไว้ติดตัวโปรแกรมเมอร์ PHP ก็มีคร่าวๆดังต่อไปนี้
- ทำความรู้จักดับ HTML คำสั่งสำหรับแสดงผลข้อมูลบนหน้าเว็บเบราเซอร์ ซึ่งเป็นแกนหลักของการสร้างเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องเข้าใจ
- ทำความรู้จักกับ Jquery ที่เป็น Javascript Framework ที่แนะนำให้ใช้เพื่อการเขียน JavaScript ที่สะดวกสบาย ง่ายยิ่งขึ้น (และ Framework ตัวใหม่ๆที่เป็นที่นิยม)
- ทำความรู้จักกับ CSS คำสั่งสำหรับจัดรูปแบบ และตกแต่งเว็บไซต์ให้สวยงาม (และ Framework ที่ช่วยเรื่องของการปรับขนาดหน้าจอให้สามารถใช้งานได้บนอุปกรณ์ที่ขนาดต่างกัน - Responsive)
- ทำความรู้จักกับ PHP Framework ที่ช่วยให้พัฒนาแอพพลิเคชั่นได้เร็วขึ้น (เรียนรู้เรื่องของ OOP และ MVC ซึ่งมีอยู่ใน Framework แต่ละตัวที่เลือกใช้)
ศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับ PHP ตามลำดับหัวข้อดังนี้
- โครงสร้างของ PHP
- เครื่องมือสำหรับเขียนโปรแกรม
- ตัวแปรใน PHP
- โอเปอเรเตอร์
- การทำงานแบบสร้างเงื่อนไข
- ข้อมูลชนิดอาร์เรย์
- การทำงานซ้ำ
- ฟังก์ชั่น
- การรับตัวแปรจากแบบฟอร์ม
- ทำงานกับฐานข้อมูล
- การเขียนโปรแกรม PHP แบบ OOP
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
"มาฝึกเขียน PHP กันเถอะ"http://phpcodemania.blogspot.com/2017/06/php-fast-beginning.html
"PHP จะเริ่มจากตรงไหนดี?"
https://phpcodemania.blogspot.com/p/php-basic.html
:: อ้างอิง ::
What is PHP?
http://php.net/manual/en/intro-whatis.php
ภาษาพีเอชพี
พื้นฐานPHP ตอนที่ 1 — — — PHP คืออะไร
https://medium.com/@majipornmasanamtirach/พื้นฐานphp-ตอนที่-1-php-คืออะไร-96b7610b0efe
PHP CI MANIA - PHP Code Generator
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น